ผู้เขียน หัวข้อ: ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?  (อ่าน 10 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 254
  • โพสขายของฟรี ติด google , ลงประกาศฟรี
    • ดูรายละเอียด
ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?
« เมื่อ: วันที่ 3 ธันวาคม 2024, 21:55:37 น. »
ผักและสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานได้จริงหรือ ?

พืชผักสมุนไพรหลากหลายชนิดที่กล่าวกันว่ามีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด มีคุณประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งก็มีงานวิจัยบางส่วนที่ศึกษาว่าผักและสมุนไพรรักษาเบาหวานได้จริง อีกทั้งส่วนใหญ่ยังเป็นพืชผักใกล้ตัวที่หารับประทานได้ง่าย จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้ป่วยโรคนี้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก

สมุนไพรรักษาเบาหวาน

เบาหวาน (Diabetes) โรคเรื้อรังที่จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินหรือใช้อินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนในกระแสเลือดที่คอยช่วยดูดซึมน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย เมื่อเกิดความผิดปกตินี้ขึ้นจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงและสร้างความเสียหายต่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย การควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งนอกจากการรับประทานยาและการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลแล้ว สมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดทั้งหลายก็ยังได้รับความสนใจและมีการสรรหามารับประทานกันอย่างหลากหลาย

1. มะระ ผักที่ขึ้นชื่อว่ามีประโยชน์สารพัดและยังถูกนำมาใช้เป็นยารักษาอาการป่วยต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน รวมถึงโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยในมะระประกอบไปด้วยสารที่มีคุณสมบัติช่วยต้านเบาหวานอย่างน้อย 3 ชนิด คือ คาแรนติน (Charantin) ที่พบว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ ส่วนอีก 2 ชนิดได้แก่ สารไวซีน (Vicine) และสารโพลีเพปไทด์พี (Polypeptide-p) ซึ่งเป็นสารที่ทำหน้าที่คล้ายอินซูลิน นอกจากนี้ยังมีโปรตีนเลคติน (Lectin) ที่สามารถลดความเข้มข้นของน้ำตาลในเลือดลง โดยเชื่อว่าสารนี้เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงหลังจากการรับประทานมะระเข้าไป

สำหรับข้อยืนยันทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคุณสมบัติของมะระต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้น มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของมะระตระกูลหนึ่งคือมะระขี้นก เปรียบเทียบกับยาเมทฟอร์มิน (Metformin) ซึ่งเป็นยาลดน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มทดลองเป็น 4 กลุ่ม ให้รับประทานมะระวันละ 500 กรัม 1,000 กรัม และ 2,000 มิลลิกรัม/วัน ส่วนผู้ป่วยกลุ่มสุดท้ายให้ใช้ยาเมทฟอร์มินในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลาทั้งหมด 4 สัปดาห์ ผลการทดสอบพบว่ากลุ่มที่รับประทานมะระวันละ 2,000 มิลลิกรัม/วัน มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างชัดเจน แต่เมื่อเทียบกับการใช้เมทฟอร์มินแล้ว ประสิทธิภาพในการรักษาของมะระยังมีน้อยกว่า อย่างไรก็ดี งานวิจัยเก่า ๆ บางงานเองก็กล่าวว่าการรับประทานมะระน่าจะมีความเกี่ยวโยงกับการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ผลการศึกษาที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามก็มีเช่นกัน เช่น งานวิจัยหนึ่งศึกษากลุ่มผู้ทดลองอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลที่ไม่ดี โดยให้รับประทานแคปซูลมะระหลังมื้ออาหารวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 2 เม็ด เป็นเวลา 3 เดือนเพิ่มเติมจากยารักษาเบาหวานที่ใช้อยู่ ผลลัพธ์พบว่า เมื่อเทียบกับยาหลอก แคปซูลมะระอาจส่งผลต่อการลดระดับน้ำตาลในเลือดเพียงเล็กน้อย จึงยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับคุณประโยชน์ด้านนี้ของมะระ ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังต้องมีการศึกษาที่มีรูปแบบรัดกุมและน่าเชื่อถือเพียงพอมากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อทราบถึงประโยชน์ของมะระที่น่าจะเป็นผลดีต่อการรักษาโรคเบาหวานดังนี้แล้ว หลายคนคงต้องการลองรับประทานสมุนไพรทางเลือกชนิดนี้ดู ซึ่งก็อาจไม่เสียหายอะไรหากมีการปรึกษาถึงความปลอดภัยในการใช้กับแพทย์แล้ว เนื่องจากมะระอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้

    การรับประทานมะระอาจไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากพบว่าสารบางชนิดในผลหรือเมล็ดของมะระอาจสามารถทำให้มีเลือดประจำเดือนผิดปกติและเกิดการแท้งลูกได้ ส่วนหญิงที่ให้นมบุตรก็ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าจะเป็นอันตรายต่อทารกหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยจึงควรหลีกเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด
    ไม่ควรรับประทานมะระเป็นอาหารเกินกว่า 55 กรัมโดยประมาณ หรือเทียบเป็นมะระขี้นกจำนวน 2 ลูกต่อวัน เพราะการรับประทานมากเกินอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องอ่อน ๆ หรือท้องเสียได้
    ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการใช้มะระในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับประทานมะระควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวานที่ใช้อยู่จะปลอดภัย เพราะการรับประทานทั้งยารักษาโรคเบาหวานและมะระอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำจนเกินไป ควรรับประทานอย่างระมัดระวังและหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เสมอ
    การรับประทานมะระที่มีคุณประโยชน์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดร่วมกับสมุนไพรหรือพืชชนิดอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติเดียวกันนี้อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงต่ำจนเป็นอันตรายได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ กระเทียม เมล็ดลูกซัด โสม กรดอัลฟาไลโปอิก (Alpha-lipoic acid) โครเมียม (Chromium) กัวร์กัม (Guar gum) ยาไซเลียม (Psyllium) และอื่น ๆ
    ผู้ป่วยด้วยภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หรือที่เรียกว่าโรคแพ้ถั่วปากอ้า โดยเป็นโรคที่คาดว่าจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ปวดศีรษะ มีไข้ ปวดท้อง และถึงขั้นเกิดภาวะโคม่าได้ในบางราย อาจเกิดอาการแพ้เช่นเดียวกันนี้หลังจากรับประทานเมล็ดของมะระ เพราะมีการศึกษาพบว่าในเมล็ดมะระมีสารคล้ายกันกับสารที่พบในถั่วปากอ้า
    มะระอาจส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือดระหว่างการผ่าตัดหรือหลังรับการผ่าตัดได้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ จึงควรงดรับประทานมะระเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์


2. อบเชย เป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่หาได้ง่ายในไทย นอกจากประโยชน์ในด้านการปรุงอาหาร ยังกล่าวกันว่ามีส่วนช่วยในการรักษาโรคเบาหวานได้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าอบเชยมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการรักษาผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีหลายงานวิจัยในห้องปฏิบัติการที่ชี้ว่าอบเชยจะช่วยเพิ่มตัวรับอินซูลินที่มีหน้าที่ดึงกลูโคสไปเป็นพลังงานยังเซลล์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น และอาจช่วยกระตุ้นความไวต่ออินซูลิน

การทดลองชิ้นหนึ่งที่ช่วยยืนยันความคิดข้างต้น คือการศึกษาโดยใช้กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทั้งหมด 60 คน เป็นชาย 30 คน และหญิง 30 คน แบ่งกลุ่มให้รับประทานอบเชยวันละ 1 กรัม 3 กรัม และ 6 กรัมทุกวัน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอกเป็นเวลา 40 วัน ผลปรากฏว่าการรับประทานอบเชยในปริมาณ 1 กรัม 3 กรัม หรือ 6 กรัม ต่างช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และคอเลสเตอรอลโดยรวมของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยพบว่าสารโครเมียมและโพลีฟีนอลในอบเชยจะช่วยกระตุ้นการทำงานของอินซูลินให้ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี ผลการทบทวนและวิเคราะห์การศึกษาทางคลินิกจำนวน 10 ชิ้นในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2 อย่างเป็นระบบในปี 2012 ยังชี้ว่าอบเชยไม่อาจช่วยลดระดับกลูโคสหรือระดับน้ำตาลสะสมในเลือดซึ่งเป็นการตรวจวัดค่าในระยะยาวได้

จากข้อสรุปข้างต้น จึงยังไม่อาจรับรองถึงประสิทธิผลและความปลอดภัยในการใช้อบเชยช่วยรักษาหรือป้องกันโรคเบาหวาน รวมทั้งสรรพคุณต่อโรคใด ๆ หากเลือกใช้จึงควรระมัดระวังเช่นเดียวกับการใช้สมุนไพรอื่น ๆ ซึ่งข้อควรระวังในการรับประทานอบเชยที่ควรทราบมีดังนี้

    ควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งก่อนเริ่มใช้อาหารเสริมจากอบเชยหรือเพิ่มอบเชยลงในมื้ออาหาร
    การรับประทานอบเชยถือว่าปลอดภัยหากใช้ในช่วงสั้น ๆ และปริมาณไม่มากจนเกินไป แต่ในบางคนก็อาจมีอาการแพ้ได้
    ไม่ควรใช้อบเชยรักษาแทนการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน หรือใช้รักษาไปก่อนโดยไม่รับการตรวจรักษาที่ถูกต้องจากแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน
    ผู้ป่วยโรคตับไม่ควรรับประทานอบเชยชนิดแคสเซีย (Cassia Cinnamon) ซึ่งจะประกอบด้วยสารคูมาริน (Coumarin) มากน้อยแตกต่างกันไปไม่คงที่ การได้รับสารนี้ในปริมาณมากอาจส่งผลให้โรคตับที่เป็นอยู่แย่ลง แม้ว่าในอบเชยชนิดนี้ส่วนใหญ่จะไม่มีสารคูมารินมากพอที่จะทำให้ได้รับอันตรายได้ก็ตาม


3. เมล็ดลูกซัด เป็นสมุนไพรที่คุ้นเคยกันดีเกี่ยวกับสรรพคุณที่อาจช่วยเพิ่มน้ำนมให้คุณแม่ และยังมีการแนะนำว่าน่าจะมีประสิทธิภาพต่อการรักษาเบาหวานได้ดีเช่นกัน เนื่องจากในเมล็ดลูกซัดนี้ประกอบไปด้วยเส้นใยที่สามารถละลายได้ ซึ่งอาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงด้วยการไปชะลอกระบวนการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรตให้ช้าลง ทั้งยังมีกลไกเช่นเดียวกับอบเชยในการช่วยกระตุ้นตัวรับอินซูลินในร่างกายให้สามารถดึงน้ำตาลกลูโคสไปเป็นพลังงานให้เซลล์ได้มากขึ้น

งานวิจัยหลายชิ้นอาจช่วยยืนยันประสิทธิภาพในการเป็นยาต้านเบาหวานของเมล็ดลูกซัดได้ ยกตัวอย่างการทดลองหนึ่งที่ให้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 69 คนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเองได้ไม่ดี รับประทานแคปซูลเมล็ดลูกซัดครั้งละ 6 เม็ด วันละ 3 ครั้ง นาน 12 สัปดาห์ เทียบกับอีกกลุ่มที่ให้ยาหลอก ผลลัพธ์พบว่าเมล็ดลูกซัดสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ อีกงานวิจัยหนึ่งที่ทดลองกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 24 คน โดยรับประทานเมล็ดลูกซัดผสมกับโยเกิร์ต หรือเมล็ดลูกซัดแบบแช่ในน้ำร้อนเป็นเวลาติดต่อนาน 8 สัปดาห์ ปรากฏว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานเมล็ดลูกซัดผสมโยเกิร์ต การรับประทานเมล็ดลูกซัดแบบแช่ในน้ำร้อนส่งผลให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารลดลงมากพอสมควร ทว่างานวิจัยทั้ง 2 ชิ้นนี้เป็นเพียงการทดลองในกลุ่มคนจำนวนไม่มากและมีระยะเวลาในการทดลองเพียงไม่นาน จึงยังไม่สามารถนำมาสรุปผลการรักษาได้อย่างชัดเจน

สำหรับการใช้เมล็ดลูกซัดเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดนั้น สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) แนะนำว่าขณะนี้การศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของเมล็ดลูกซัดในการลดระดับน้ำตาลในเลือดยังไม่เพียงพอที่จะเชื่อถือได้ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

อย่างไรก็ดี หากต้องการลองใช้เมล็ดลูกซัด ก็ควรคำนึงถึงข้อระมัดระวังในการรับประทาน ดังนี้

    เช่นเดียวกันกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ต้องการลองใช้เมล็ดลูกซัดช่วยรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความปลอดภัยในการใช้ เพราะการใช้เมล็ดลูกซัดที่มีคุณสมบัติลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้วควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวานอาจยิ่งทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำจนเกิดอันตรายได้ จึงควรมีการปรับลดปริมาณการใช้ยาโดยแพทย์ก่อน
    ไม่ควรใช้เมล็ดลูกซัดรักษาอาการป่วยใด ๆ แทนการรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน ควรเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน
    อย่ารับประทานเมล็ดลูกซัดขณะกำลังตั้งครรภ์ เพราะอาจส่งผลให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูก
    ยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยในการรับประทานสมุนไพรชนิดนี้ระหว่างการให้นมบุตร
    การรับประทานเมล็ดลูกซัดอาจส่งผลคล้าย ๆ กับการเกิดฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย ทำให้ไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงที่ป่วยเป็นมะเร็งที่มีความไวต่อฮอร์โมน
    เมล็ดลูกซัดอาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการท้องเสีย ปัสสาวะเป็นกลิ่นคล้ายเมเปิล มีน้ำนมไหลออกจากเต้า มีเหงื่อออก และทำให้โรคหืดที่เป็นอยู่มีอาการที่แย่ลงได้


4. ตำลึง พืชผักสวนครัวไม้เลื้อยใกล้ตัวชนิดนี้เชื่อว่ามีสรรพคุณเป็นยาต้านเบาหวานเช่นกัน สำหรับกลไกในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของตำลึงแม้จะยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าในตำลึงประกอบด้วยสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนอินซูลิน และจะช่วยหยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์บางชนิดที่มีส่วนร่วมในการผลิตกลูโคสขึ้นมา การรับประทานตำลึงจึงอาจมีส่วนช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง

งานวิจัยชิ้นหนึ่งศึกษาเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของตำลึงในการลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทดลองกับผู้ป่วยจำนวน 60 คน อายุ 35-60 ปี กลุ่มหนึ่งรับประทานสารสกัดจากตำลึงวันละ 1 กรัม อีกกลุ่มรับประทานยาหลอกเป็นเวลา 90 วัน ผลลัพธ์พบว่าสารสกัดจากตำลึงมีประสิทธิภาพในการช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานลดลง

เช่นเดียวกับงานวิจัยอีกงานหนึ่งที่ใช้ใบตำลึงสดปริมาณ 20 กรัมมาทำเป็นสลัด ผสมมะพร้าวขูดและเกลือ รับประทานเป็นอาหารเช้า แล้วทดสอบระดับน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นในเลือดโดยใช้กลูโคส 75 กรัม ผลการทดลองชี้ว่าตำลึงมีประสิทธิภาพช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านนี้ของตำลึงในปัจจุบันยังถือว่าน้อยมาก จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

การรับประทานตำลึงอาจไม่อันตรายต่อคนปกติทั่วไป หากรับประทานติดต่อกันไม่เกิน 6 สัปดาห์ ส่วนการรับประทานในระยะเวลาที่นานกว่านี้ยังไม่มีการยืนยันถึงความปลอดภัย ผู้ที่ต้องการใช้ตำลึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคเบาหวานหรือโรคใด ๆ ควรระมัดระวังถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นต่อไปนี้

    หญิงที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน เพราะยังไม่มีข้อมูลที่เชื่อถือเพียงพอที่รับรองได้ว่าจะไม่ทำให้เกิดอันตราย
    เนื่องจากตำลึงอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเกินกว่าปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรระวังในการใช้เป็นอย่างยิ่งหากใช้ควบคู่กับยารักษาโรคเบาหวาน และต้องปรึกษาแพทย์ก่อนลองใช้สมุนไพรชนิดนี้
    หากต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานตำลึงก่อนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพราะคุณสมบัติลดน้ำตาลในเลือดอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยในระหว่างและหลังรับการผ่าตัดได้


5. กระเทียม พืชสวนครัวหน้าตาคุ้นเคยชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอุดมไปด้วยสารต่าง ๆ มากกว่า 400 ชนิด ซึ่งหลาย ๆ ชนิดมีส่วนช่วยป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสารอัลลิซิน (Allicin)

สารอัลลิลโปรปิลไดซัลไฟท์ (Allyl Propyl Disulfide) และสารอัลลิลซิสเตอีน ซัลฟอกไซด์ (S-allyl Cysteine Sulfoxide) ที่จะกระตุ้นให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น และทำให้ร่างกายนำอินซูลินเหล่านี้ไปใช้ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

สำหรับข้อยืนยันทางวิทยาศาสตร์ มีงานวิจัยเผยว่าการรับประทานกระเทียมในปริมาณที่เหมาะสมอาจช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ลดลง ไม่ว่าจะเป็นกระเทียมดิบ กระเทียมที่นำมาปรุงในอาหาร หรือสารสกัดจากกระเทียม

นอกจากนี้ อีกงานวิจัยยังชี้ว่ากระเทียมอาจใช้รักษาร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานได้ดี โดยในการศึกษาเกี่ยวกับใช้กระเทียมร่วมกับยารักษาโรคเบาหวานอย่างเมทฟอร์มิน (Metformin) ในผู้ป่วยเบาหวานเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ปรากฏว่ากระเทียมและเมทฟอร์มินช่วยลดค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารได้ดีกว่าการใช้เมทฟอร์มินอย่างเดียว สอดคล้องกับบางงานวิจัยที่แนะนำว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์บางชนิดจากกระเทียมควบคู่ไปกับยาต้านเบาหวานเป็นเวลา 4-24 สัปดาห์สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ระดับคอเลสเตอรอล และไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในผู้ป่วยเบาหวานลงได้

อย่างไรก็ตาม จากการทบทวนงานวิจัยต่าง ๆ ในปัจจุบันยังให้ข้อสรุปว่ากระเทียมไม่น่ามีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลหรือคอเลสเตอรอลในเลือด ไม่ว่าจะกับผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่ไม่ได้ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ประสิทธิภาพของกระเทียมในการรักษาโรคเบาหวานจึงต้องรอให้มีการวิจัยที่ยืนยันได้อย่างชัดเจนกว่าในตอนนี้

ทั้งนี้ การบริโภคกระเทียมโดยทั่วไปจะสามารถรับประทานได้อย่างปลอดภัยแต่ก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงกับบางคนได้ เพื่อความปลอดภัยควรรับประทานแต่พอดีและคำนึงถึงความปลอดภัยในกรณีต่อไปนี้

    การรับประทานกระเทียมอาจมีผลข้างเคียงทำให้เกิดกลิ่นปากและกลิ่นตัว ท้องเสีย หรือรู้สึกแสบร้อนกลางอก ซึ่งอาการจะรุนแรงกว่าหากรับประทานกระเทียมสด และในบางรายอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นได้
    การรับประทานกระเทียมอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีเลือดออก หากมีการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดใด ๆ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังใช้หรือคิดว่าจะรับประทานกระเทียมเสริมเพื่อช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยบางชนิด
    กระเทียมอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีอย่างซาควินาเวียร์ (Saquinavir)
    เช่นเดียวกับสมุนไพรหรือพืชผักชนิดอื่นที่มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่อยากลองใช้กระเทียมจะต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้เพื่อให้แน่ใจว่าจะปลอดภัยและทราบถึงคำแนะนำการใช้ที่ถูกต้อง


ความปลอดภัยในการใช้สมุนไพรทางเลือกรักษาโรคเบาหวาน

ในปัจจุบัน การนำพืชสมุนไพรต่าง ๆ มาใช้ในการรักษาโรคเบาหวานนั้นไม่ได้มีการรับรองทางการแพทย์ถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ และแม้ว่าจะมีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริง แต่สมุนไพรหรืออาหารเสริมที่รับประทานเข้าไปอาจทำปฏิกิริยากับยารักษาเบาหวานที่แพทย์สั่งจ่าย หรือยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงจนถึงขีดอันตรายและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาในที่สุดได้

ดังนั้น ก่อนการตัดสินใจลองใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมทางเลือกใด ๆ ในการรักษาเบาหวาน รวมถึงโรคชนิดใดก็ตาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยและทราบถึงปริมาณการใช้ที่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ แต่มีความวิตกกังวลหรือสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรต้องเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์เท่านั้น ไม่ควรลองใช้สมุนไพรหรืออาหารเสริมเองโดยพลการ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการใช้ที่ผิดวิธีหรือส่งผลให้อาการยิ่งแย่ลงได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่เพิ่งตรวจพบโรคเบาหวานที่จะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์จนกว่าระดับของน้ำตาลในเลือดจะคงที่


การรักษาโรคเบาหวานด้วยวิธีทางการแพทย์แผนปัจจุบัน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนการปฏิบัติตัวด้วยการรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นอาหารอุดมด้วยสารอาหารและเส้นใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีทั้งหลาย รวมถึงปรับการรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและของหวาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยในการช่วยให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลงและเพิ่มความไวต่ออินซูลินของผู้ป่วย

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตแล้ว การรักษาเบาหวานแต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะต้องได้รับการรักษาด้วยการให้อินซูลิน ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดบ่อย ๆ ส่วนโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรักษาแรกเริ่มคือการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดควบคู่ไปกับการรับประทานยารักษาโรคเบาหวานหรือการให้อินซูลิน บางรายอาจต้องให้รับทั้งยารักษาและอินซูลิน

สำหรับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั้น สิ่งสำคัญก็คือการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด นอกจากนั้น ยังควรควบคุมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเช่นเดียวกัน รวมทั้งต้องคอยตรวจวัดน้ำตาลในเลือด และอาจมีการให้อินซูลินด้วยในบางกรณี


 























































รวมเว็บลงประกาศฟรี ล่าสุด
รวมเว็บประกาศฟรี
โพสต์ขายของฟรี
ลงโฆษณาสินค้าฟรี
โฆษณาฟรี
ประกาศฟรี
เว็บฟรีไม่จำกัด
ทำ SEO ติด Google
ลงประกาศขาย
เว็บฟรียอดนิยม
โพสโฆษณา
ประกาศขายของ
ประกาศหางาน
บริการ แนะนำเว็บ
ลงประกาศ
รวมเว็บประกาศฟรี
รวมเว็บซื้อขาย ใช้งานง่าย
ลงประกาศฟรี ทุกจังหวัด
ต้องการขาย
ปล่อยเช่า บ้าน คอนโด ที่ดิน
ขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ประกาศฟรี ไม่มี หมดอายุ
เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ
ฝากร้านฟรี โพ ส ฟรี
ลงประกาศฟรี กรุงเทพ
ลงประกาศฟรี ทั่วไทย
ลงประกาศโฆษณาฟรี
ลงประกาศฟรี 2023
รวมเว็บลงประกาศฟรี

รวม SMFขายสินค้า
ประกาศฟรีออนไลน์
ลงประกาศ สินค้า
เว็บบอร์ด โพสต์ฟรี
ลงประกาศ ซื้อ-ขาย ฟรี
ชุมชนคนไอทีขายสินค้า
ลงประกาศฟรีใหม่ๆ 2023
โปรโมทธุรกิจฟรี
โปรโมทสินค้าฟรี
แจกฟรี รายชื่อเว็บลงประกาศฟรี
โปรโมท Social
โปรโมท youtube
แจกฟรี รายชื่อเว็บ
แจกฟรีโพสเว็บบอร์ดsmf
เว็บบอร์ดsmfโพสฟรี
รายชื่อเว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ลงประกาศฟรี เว็บบอร์ด
เว็บบอร์ดขายสินค้าฟรี
ฟรี เว็บบอร์ด แรงๆ
โพสขายสินค้าตรงกลุ่มเป้าหมาย
โฆษณาเลื่อนประกาศได้
ขายของออนไลน์
แนะนำ 6 วิธีขายของออนไลน์
อยากขายของออนไลน์
เริ่มต้นขายของออนไลน์
ขายของออนไลน์ เริ่มยังไง
ชี้ช่องขายของออนไลน์
การขายของออนไลน์
สร้างเว็บฟรีประกาศ

smf โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์อะไรดี
smf โพสฟรี
อยากขายของออนไลน์ smf
ขายของออนไลน์ยังไงให้มีคนซื้อ
smf เริ่มต้นขายของออนไลน์
ไอ เดีย การขายของออนไลน์
เว็บขายของออนไลน์
เริ่ม ขายของออนไลน์ โพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ที่ไหนดี
เทคนิคการโพสต์ขายของ
smf โพสต์ขายของให้ยอดขายปัง
โพสต์ขายของให้ยอดขายปังโพสฟรี
smf ขายของในกลุ่มซื้อขายสินค้า
โพสขายของยังไงให้มีคนซื้อ
smf โพสขายของแบบไหนดี
โพสฟรีแคปชั่นโพสขายของยังไงให้ปัง
smf แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์
แคปชั่นแม่ค้าออนไลน์ โพสฟรี
ขายของให้ออร์เดอร์เข้ารัว ๆ
smf โพสต์เรียกลูกค้า
โพสต์เรียกลูกค้าโพสฟรี
smf ขายของออนไลน์ให้ปัง
smf โพสต์ขายของ
smf เขียนโพสขายของโดนๆ
แคปชั่นเปิดร้าน โพสฟรี
smf วิธีโพสขายของให้น่าสนใจ
วิธีเพิ่มยอดขาย โพสฟรี
smf เทคนิคเพิ่มยอดขาย

เพิ่มยอดขายให้เข้าเป้า
เว็บบอร์ดฟรี
โปรโมทฟรี
มีลูกค้าเพิ่ม - YouTube
ผลักดันยอดขายโปรโมทฟรี
โปรโมทผลักดันยอดขาย
โปรโมทแผนการเพิ่มยอดขายให้ได้ผล
โปรโมทวิธีการวางแผนการเพิ่มยอดขาย
ยอดขายไม่ดีควรทำอย่างไร
ยอดขายตกเกิดจากอะไร
ทำไมต้องเพิ่มยอดขาย
ขายฟรี
ยอดการขาย คืออะไร
กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย
โพสฟรีการกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทกระตุ้นยอดขาย
โปรโมทฟรีออนไลน์กระตุ้นยอดขาย
ประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศเพิ่มยอดขาย
ฝากร้านฟรีเพิ่มยอดขาย
ลงประกาศฟรีใหม่ ๆ เพิ่มยอดขาย
เว็บประกาศฟรีเพิ่มยอดขาย
Post ฟรี
ประกาศขายของฟรี
ประกาศฟรี
โพส SEO
ลงโฆษณาฟรี
โปรโมทเพจร้านค้า