จัดฟันบางนา: ระวัง ฟันเก อันตรายกว่าที่คิด เชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะรู้จักฟันเกกันเป็นอย่างดี หรือบางคนอาจประสบปัญหาฟันเกอยู่ในขณะนี้ก็เป็นได้ แต่หลายๆท่านก็ยังคิดว่าฟันเกไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปทำการรักษาแต่อย่างใด เพราะ ไม่มีอาการปวด หรือกระทบต่อการดำเนินชีวิตอะไร ทำให้เกิดการปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้วฟันเกสามารถทำให้ฟันของท่านมีปัญหาได้ในระยะยาวหากไม่รีบทำการรักษา
ในวันนี้ทางด้าน Clinic จะขอพาท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับฟันเกอย่างละเอียดเพื่อให้ท่านทราบถึงภัยเงียบในระยะยาวของฟันเก รวมถึงต้นเหตุเพื่อให้ท่านได้รู้จักการป้องกัน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ฟันเก คืออะไร ?
ฟันเก คือ ฟันที่มีการเรียงตัวไม่เรียบร้อย หรือการเรียงตัวของฟันในช่องปากที่ผิดปกติ หากเป็นมากอาจจะส่งผลให้พูดไม่ค่อยชัด และที่สำคัญเลยคือการทำความสะอาดที่ยากมาก
ซึ่งฟันเกนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายๆสาเหตุ เช่น มีความผิดปกติเรื่องขากรรไกร ลักษณะช่องปากเล็กจนเกินไป และพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อช่องปากต่างๆ เป็นต้น
ฟันเกนั้นส่วนใหญ่จะมาจากเรื่องของพันธุกรรมร่วมด้วย คือหากว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย มีประวัติฟันเก ลูกหลานก็มีโอกาสที่จะมีฟันเกได้ด้วยเช่นกัน หากพบว่าตนเองนั้นมีฟันเกควรรีบเข้ารับการรักษาเพราะอาจจะส่งผลเสียในระยะยาวทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
สาเหตุของฟันเก ?
นอกจากพันธุกรรมที่ส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่นแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกมากมายที่ทำให้ฟันเก ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
– มีขากรรไกรบนและล่างผิดปกติไม่เท่ากัน
– ช่องปากเล็กไม่พอดีกับฟันที่ขึ้นมาทำให้เกิดการเบียดตัวของฟัน
– เคยได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงที่บริเวณขากรรไกรทำให้เกิดความไม่สมดุลขึ้น
– มีแรงกดจากพฤติกรรมต่างๆบริเวณฟันหรือเงือกมากจนเกินไป
– สูญเสียฟันน้ำนม หรือฟันแท้ และไม่ได้ทำการรักษาปล่อยให้เกิดช่องว่าง
– การรักษาฟันที่ไม่เหมาะสม
– เป็นโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง
– มีเนื้องอกเป็นก้อนที่เหงือกหรือขากรรไกรทำให้เกิดการบีบตัวของฟัน
– การมีพฤติกรรมชอบดูดนิ้วในช่วงวัยเด็ก
– มีพฤติกรรมชอบใช้ลิ้นดุนฟันเป็นประจำ
– ใช้จุกปลอมสำหรับเด็กหลังอายุเกิน 3 ขวบ ก็มีโอกาสทำให้ฟันเกสูงมาก
– พฤติกรรมดูดขวดนมเป็นระยะเวลานานๆ
รักษาฟันเก ได้อย่างไร ?
ก่อนที่จะทำการรักษาทันตแพทย์จะทำการวินิจฉัยก่อนว่า ฟันเกในช่องปากของผู้ป่วยนั้นรุนแรงขนาดไหน แล้วจึงจะทำการรักษาตามความรุนแรง ในผู้ป่วยฟันเกที่ไม่รุนแรงอะไรนักอาจจะใช้เพียงแค่รีเทนเนอร์แบบถอดได้เท่านั้นฟันที่เกก็จะสามารถเรียงตัวได้ตามปกติ แต่สำหรับผู้ป่วยฟันเกที่มีฟันเบียดเป็นอย่างมากอาจจำเป็นจะต้องถอนฟันออกหนึ่งซี่หรืออาจจะมากกว่านั้นตามที่ทันตแพทย์วินิจฉัย แต่หากว่ามีปัญหาเรื่องขากรรไกรที่ผิดปกติร่วมด้วยอาจจำเป็นที่จะต้องทำการผ่านตัดซึ่งพบได้ไม่บ่อยนัก
ซึ่งอีกหนึ่งวิธีที่ทันตแพทย์นิยมในการนำมารักษาฟันเก ก็คือ การจัดฟัน แต่ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำเองว่าควรที่จะต้องทำการจัดฟันแบบไหนจึงจะเหมาะสมกับฟันของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากฟันเก ?
ผู้ป่วยฟันเก จะมีการเรียงตัวของฟันที่ทับซ้อนกันอย่างผิดปกติ ทำให้ในส่วนที่ฟันถูกทับกันนั้นไม่สามารถทำความสะอาดได้ หรือทำความสะอาดได้ยาก หากว่าไม่รีบทำการรักษาจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น ฟันผุ ฟันร่วง รวมถึงโรคเหงือกอักเสบเรื้อรัง และหากว่าฟันอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม อาจจะเกิดจากการที่กระดูกขากรรไกรผิดปกติหรือการสบฟันผิดปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านการบดเคี้ยว รวมถึงการพูดอาจจะไม่ชัด เกิดการกร่อนของเคลือบฟัน และปัญหาส่วนกระดูกขากรรไกรตามมาได้
วิธีป้องกันฟันเก ทำอย่างไร ?
เนื่องจากว่าฟันเกเป็นส่วนหนึ่งของพันธุกรรม ซึ่งการป้องกันนั้นเป็นไปได้ยาก แต่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดฟันเกเกิดจากความผิดปกติขอขากรรไกรได้ เช่น หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ขากรรไกรมีความเสี่ยงอันตราย และสำหรับเด็กไม่ควรให้ดูดขวดนม หรือนิ้ว เป็นระยะเวลานานๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการเกิดฟันเกได้ในระดับหนึ่งแล้วนั่นเอง